วันพุธที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2560

วิถีชีวิตคนเมืองแบบใดที่ทำให้สุขภาพแย่ เกิดโรคออฟฟิศซินโดรม

ในปัจจุบันวิถีชีวิตคนเมือง คือ นอกดึก ตื่นเช้า เร่งรีบกับการทำงาน  ทุกอย่างในแต่ละวันจึงเต็มไปด้วยความเร่งรีบ รวมไปถึงการทุ่มเทและให้ความสำคัญกับหน้าที่การงานและภาระต่างๆ จนหลายคนมักที่จะมองข้ามเรื่องการดูแลสุขภาพของตน ส่งผลให้คนเมืองมีภาวะร่างกายเสื่อมถอยสะสมโดยไม่รู้ตัว  จากข้อมูลด้านสาธารณสุข พบว่าร้อยละ 10 ของคนเมือง มีภาวะเสี่ยงต่อการเป็น " โรคออฟฟิศซินโดรม " วิถีชีวิตที่ทำให้สุขภาพแย่ มักมีดังนี้คือ 



1. ไม่กินอาหารมื้อเช้า  ตามหลักวิชาการแล้วอาหารมื้อเช้า เป็นมื้อที่ร่างกายจะได้รับสารอาหารและพลังงานทดแทนที่เสียไปในระหว่างกลางคืนที่ร่างกายนอนหลับยาวนาน การอดอาหารมื้อเช้าบ่อยๆ จะทำให้ร่างกายขาดพลังงาน สมองไม่ได้รับสารอาหารไปกระตุ้น จึงทำให้เรามักรู้สึกไม่สดชื่น คิดอะไรไม่ออก สมองประมวลผลช้า เมื่อสะสมไปนานๆ เข้าก็อาจก่อให้เกิดโรคตามมา เช่น โรคกรดไหลย้อน โรคเส้นเลือดในสมอง โรคหัวใจ โรคนิ่ว และโรคอัลไซเมอร์ (ความจำเสื่อม)  จากผลการศึกษาวิจัยพบว่า คนที่กินอาหารเช้าหลังตื่นนอน ชั่วโมง  จะมีแนวโน้มที่อารมณ์ดี จิตใจเบิกบาน รวมไปถึงมีทักษะการเรียนรู้และจดจำที่มากกว่าปกติ
2. ดื่มน้ำน้อย ร่างกายของคนเราส่วนใหญ่ประกอบด้วยน้ำเป็นส่วนใหญ่มากกว่าร้อยละ 70 การดื่มน้ำที่น้อยเกินไปในแต่ละวันจะส่งผลให้เลือดข้น ระบบหมุนเวียนของเหลวในร่างกายผิดปกติและมีอาการปวดศรีษะตามมา  แต่การดื่มน้ำวันละ 2-3 ลิตรจะช่วยให้ระบบอวัยวะไต สามารถดักจับไขมัน และกำจัดสารพิษต่างๆ ที่เข้าสู่ร่างกายได้ดียิ่งขึ้น ช่วยทำให้ผิวพรรณสดใส ลดปัญหาท้องผูก ช่วยควบคุมความเป็นกรด-ด่างของของเหลวในร่างกายให้อยู่ในภาวะปกติ สมองทำงานได้ดีเพราะมีน้ำหล่อเลี้ยงเพียงพอ 
3. นั่งท่าเดิมๆ ต่อเนื่องเป็นเวลานาน  คนเมือง มีพฤติกรรมการทำงานที่ต้องนั่งท่าเดิมติดต่อกันเป็นระยะเวลานานมากกว่า ชั่วโมง  เกิดอาการที่เรียกว่า โรคออฟฟิศซินโดรมคือ กล้ามเนื้ออักเสบและปวดเมื่อยล้าตามบริเวณ ไหล่ บ่า ต้นคอ หลัง  คนเมืองจึงควรลุกขึ้นขยับร่างกายเป็นระยะๆ 



4. ทำงานล่วงเวลา  (OT) ร่างกายก็เปรียบเสมือนรถยนต์  หากวิ่งตลอดเวลาไม่ได้พัก เมื่อถึงจุดหนึ่งเครื่องยนต์ก็ต้องน็อคพังชำรุด  ร่างกายของคนเราจึงควรที่จะได้รับการพักผ่อนที่เพียงพอเหมาะสม จัดสรรตารางและกำหนดขอบเขตความสำคัญของงานว่าจะทำอย่างใดก่อน-หลัง  จะได้ไม่ต้องว่างตอนกลางวันแต่งานมากตอนช่วงหลังเลิกงาน
5. นอนดึก อดนอนเป็นประจำ  การทำงานล่วงเวลาจนนอนดึก  การติดมือถือหรือโซเชียล เช่น Facebook , Instagram , Line ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้รบกวนเวลาในการนอนพักผ่อนของคนเมืองให้นอนดึกมากขึ้นกว่าเดิม   ถ้าอดนอนบ่อยๆ หรือนอนดึกติดต่อกัน ก็จะส่งผลให้สมองไม่ได้รับการพักผ่อนที่เพียงพอ ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายทำงานลดลง ขาดสมาธิ และอารมณ์แปรปรวนอยู่เสมอ 
6. ร่วมปาร์ตี้ทุกสัปดาห์  ช่วงวันท้ายสุดสัปดาห์หรือวันหยุด คนเมืองมักคิดว่าทำงานหนักมาทั้งสัปดาห์ก็ต้องปาร์ตี้ให้หายเหนื่อยสักหน่อย  แต่ความจริงแล้วร่างกายทำงานหนักติดต่อกันมาทั้งสัปดาห์แล้ว การปาร์ตี้จนร่างกายทรุดโทรมในช่วงวันหยุดนั้น  เป็นการทำร้ายร่างกายยิ่งกว่าทำงานเสียอีก เช่น แอลกอฮอล์ที่ทำลายสุขภาพโดยตรง  การอดนอนที่ทำให้ใบหน้าหมองคล้ำและสุขภาพทรุดโทรม  การแฮงค์ในตอนเช้า  ทำให้วันหยุดหมดไปกับอาการป่วยคลื่นไส้เวียนหัว  แทนที่ร่างกายจะได้พักผ่อนจริงๆ 


7. การไม่ออกกำลังกาย   คนไทยกว่าร้อยละ 20 เป็นภูมิแพ้จากมลภาวะที่อยู่รอบตัว โดยเฉพาะสังคมเมืองที่มีประชากรอาศัยอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก จนก่อให้เกิดความแออัด เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สารก่อภูมิแพ้ขึ้น  การออกกำลังกาย คือ สิ่งจำเป็นที่จะช่วยสร้างภูมิต้านทานในร่างกายของเราให้แข็งแรงต่อสู้กับโรคร้ายได้อยู่เสมอ  คนเมืองที่ไม่ออกกำลังกายเลยก็จะทำให้กล้ามเนื้อไม่ได้รับการพัฒนา ร่างกายอ่อนแอ ป่วยง่าย ลงพุงและมีความเครียดสะสม 
ที่มา :  1. กระทรวงสาธารณสุข , สืบค้นเมื่อ 5 ต.ค.60         
           2. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ  
, สืบค้นเมื่อ 5 ต.ค.60
          3. National Weight Control Registry  , สืบค้นเมื่อ 5 ต.ค.60
ผู้เรียบเรียง : ภก.เชิดเกียรติ  แกล้วกสิกิจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น