เกี่ยวกับเรา

เมืองสุขภาพดี ดิจิตอลออนไลน์ 4.0
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 พิษณุโลก  กรมควบคุมโรค


แนวคิด
    ปัจจุบันการขยายตัวของประชากรโลกที่อาศัยในเขตเมืองมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ซึ่งประเทศไทยมีผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองโดยอิงตามพื้นที่เขตเทศบาลถึงร้อยละ 50 อีกทั้ง มีการเคลื่อนย้ายของประชากรเพื่อเข้ามาประกอบอาชีพในเมือง (คนไทยและแรงงานข้ามชาติ) มีการท่องเที่ยวอย่างกว้างงขวาง จึงส่งผลทำให้เกิดปัญหาที่มีความซับซ้อนทั้งทางสังคม และสุขภาพเพิ่มขึ้น กลไกการบริการด้านการป้องกันควบคุมโรคที่มีอยู่ไม่สามารถตอบสนองกับสถานการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงสร้างเมืองสมมุติทางออนไลน์ขึ้น



ความเป็นมา 
         เขตเมืองคือบริเวณที่มีประชากรอยู่อาศัยอย่างหนาแน่นเป็นชุมชนเกิน 10,000 คน เป็นศูนย์กลางทางด้านการบริหารและการปกครอง มีการติดต่อสื่อสาร สิ่งก่อสร้าง การคมนาคม เป็นลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากชนบท ในยุคปัจจุบันศตวรรษที่ 21 สังคมเปลี่ยนไปสู่ความเป็นเมืองมากขึ้น แต่สิ่งที่คนเมืองต้องเผชิญคือปัญหาโรคและภัยสุขภาพที่ซับซ้อนขึ้น หน่วยบริการสาธารณสุขต่างๆ เป็นเพียงการบรรเทาปัญหาเบื้องต้น สังคมเมืองจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนากลไกการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการช่วยเหลือ และดำเนินกิจกรรมป้องกันควบคุมโรค แลภัยสุขภาพ คนรุ่นใหม่มีวิถีการทำงานที่ยืดหยุ่น ไม่ยึดติดกรอบเวลา ขอบเขตสถานที่ การสื่อสารออนไลน์รูปแบบต่างๆ สามารถทำได้ตลอด 24 ชั่วโมง เป็นปัจจัยที่ 5 ที่ช่วยลดข้อจำกัดด้านเวลาที่มีอยู่เดิม ก่อให้เกิดวิถีชีวิตในรูปแบบอิสระ หลุดออกจากกรอบเดิมๆ เกิดการแบ่งบันข้อมูลความรู้กัน เรียนรู้ทุกที่ทุกเวลา กระจายข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นจึงควรสร้างสังคมสมมุติออนไลน์ เพื่อตอบสนองความต้องการใช้ชีวิตของคนเมืองยุคใหม่



วัตถุประสงค์
         เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้เข้าถึงบริการเชิงรุกมาตรการเตือนภัยการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพในรูปแบบสังคมสมมุติออนไลน์ขนาดใหญ่ เกิดการรับรู้ข้อมูลความเสี่ยงสุขภาพตามสถานการณ์ มีความตระหนักในการป้องกันตนเองมากขึ้น 



วิธีการดำเนินงาน 
    สร้างนวัตกรรมต้นแบบเมืองออนไลน์เตือนภัยโรคและภัยสุขภาพรูปแบบที่ทันสมัยจากงานประจำสู่งานวิจัยยุค Thailand 4.0 แล้วจัดทำมาตรการเตือนภัยฯ ให้สอดรับกับสถานการณ์ พร้อมการเผยแพร่ปฏิสัมพันธ์สู่ประชากรในเขตเมืองอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง   


ผลที่เกิดขึ้น
      1. พบว่าได้นวัตกรรมต้นแบบ “เมืองสุขภาพดี” ออนไลน์ โดยมีลักษณะรูปแบบที่สำคัญ คือ ใช้ฟรีเว็ปบล็อค http://ubdpc2.blogspot.com ในการพัฒนา แล้วมีชุมชนเสมือนย่อย เป็นแบนเนอร์ชุมชนสื่อสังคมออนไลน์ คือ ชุมชน Facebook , ชุมชน Youtube , ชุมชน LINE , ชุมชน Google plus , ชุมชน Twitter 



      2. สร้างคุณสมบัติให้เมืองออนไลน์มีเครื่องมือ “ล่ามอัจฉริยะ” แปลเนื้อหาจากภาษาไทยเป็นภาษาท้องถิ่น เช่น ภาษาม้ง และภาษาในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านอาเซียน เช่น ภาษาเมียนม่า ลาว เขมร มาลายู เวียดนาม ชวา อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ รวมทั้งภาษาสำคัญต่างๆ ทั่วโลกอีกกว่า 103 ภาษา เช่น ภาษาจีน ญี่ปุ่น เกาหลี อังกฤษ ฝรั่งเศส เสปน เยอรมัน อาหรับ ละติน ฯลฯ เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงความรู้ได้โดยไร้เขตแดนทางภาษาและวัฒนธรรม  



     3. มีระบบวิเคราะห์สถิติการปฏิสัมพันธ์ในเมือง เป็นรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน และเวลาทั้งหมด เป็นรูปแบบตัวเลข แผนภูมิกราฟเส้น แสดงผลประเทศ ระบบปฏิบัติการทางเทคนิคเป็นแผนภูมิกราฟวงกลมได้ ระบุเส้นทางออนไลน์ต้นทางแหล่งเข้าเมืองมาได้ 
   4. มีเครื่องมือนับจำนวนประชากรอัตโนมัติที่เข้ามาร่วมปฏิสัมพันธ์ความรู้โรคและภัยสุขภาพ ผ่านโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนระบบ  Android, IOS, คอมพิวเตอร์พกพาและแบบตั้งโต๊ะ กระจายแบ่งปันข้อมูลความรู้ทางสาธารณะได้ในวงกว้าง รวดเร็ว ภายในเวลาอันสั้น ไร้รอยต่อข้อจำกัดด้านเวลาและพื้นที่ สื่อสารทางตรงถึงประชาชน เหมาะสมกับวิถีชีวิตคนเมือง



    5. เรื่องยอดนิยมมากที่สุด 5 อันดับ เรียงจากมากไปหาน้อย คือ โรคไข้เลือดออก โรคอุจาระร่วง อุบัติเหตุทางถนน โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และโรคไข้หวัดใหญ่

ข้อเสนอแนะ  
       ทิศทางการใช้ประโยชน์ในระยะต่อไป สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง กรมควบคุมโรค และหน่วยงานในระดับพื้นที่ ควรดำเนินการรวบรวมเทคนิควิธีการนวัตกรรมนี้ แล้วทดลองขยายผลกระตุ้นคนเมืองรุ่นใหม่ผ่านช่องทางสาธารณะอื่นๆ ให้กลุ่มเป้าหมายได้เข้าถึงบริการความรู้ในการป้องกันตนเอง ปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรม รู้วิธีการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง ป้องกันตนเองล่วงหน้า จะช่วยลดหรือบรรเทาความรุนแรงของโรคและภัยสุขภาพ มุ่งสู่สังคมเมืองสุขภาพดีถ้วนหน้า



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น