ความเป็นมา
ในแต่ละปีกระทรวงสาธารณสุข รายงานว่าประเทศไทยมีผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่
7-9 แสนราย
ในจำนวนนี้มีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ปอดบวม ต้องรับไว้โรงพยาบาลเกือบ 76,000 ราย ในเขตเมืองใหญ่ 5 ภาคเหนือตอนล่าง จำนวน 11 เมือง มีกลุ่มผู้ที่เสี่ยงป่วยรุนแรง
ได้แก่หญิงมีครรภ์ เสี่ยงป่วยรุนแรงกว่าคนทั่วไป 4 เท่า ผู้มีโรคเรื้อรัง เช่น
โรคปอด หอบหืด หัวใจ ไต เบาหวาน โรคเลือด มะเร็ง เอดส์ ฯลฯ ผู้พิการทางสมอง
คนอ้วนมาก (น้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป)
เด็กเล็ก อายุน้อยกว่า 2 ปี ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป
ผลกระทบ
โรคไข้หวัดใหญ่ เกิดจากเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรีย
สามารถติดต่อได้ง่าย โดยเชื้อจะฟุ้งกระจายอยู่ในอากาศ เมื่อมีการไอ จามรดกัน การหายใจสูดลมหายใจเอาเชื้อที่อยู่ในฝอยละอองเสมหะ
น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วยถูกผู้ป่วยไอจามรด ในระยะ 1 ช่วงแขน การสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย
หรือมือสัมผัสเชื้อไวรัสแล้วนำมาขยี้ตา จับต้องจมูก ปาก การจับต้องสิ่งของเครื่องใช้ที่ปนเปื้อนเชื้อจากผู้ป่วย
เช่น โทรศัพท์ แป้นคอมพิวเตอร์ ผ้าเช็ดมือ ลูกบิดประตู แล้วใช้มือมาแคะจมูก ขยี้ตา จับปาก
เชื้อโรคจะไปเจริญอยู่ในลำคอและเยื่อบุทางเดินหายใจของผู้ป่วย
หลังจากนั้นผู้ป่วยสามารถแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้มากที่สุดในช่วงป่วย 3 วันแรก (มีโอกาสแพร่เชื้อได้มากสุด
และอาจแพร่ได้นานถึง 7 วัน) ส่งผลให้ หลังได้รับเชื้อ 2-3 วัน (มักไม่เกิน 7 วัน) ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูง
เป็นเวลา 3 - 4 วัน ปวดศีรษะมาก หนาวสั่น ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ น้ำมูกไหล คัดจมูก ไอ จาม
เจ็บคอ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย บางคนอาจมีอาเจียน
ท้องเสียด้วย
คำแนะนำ
หากป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ ผู้ที่ต้องรีบไปโรงพยาบาล
คือ ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง, ไข้สูง
ไม่ลดลงภายใน 2 วัน , ไอมาก เจ็บหน้าอก หายใจถี่ หอบเหนื่อย , ซึม
อ่อนเพลียมาก เด็กร้องไห้งอแงมาก, กินอาหารไม่ได้
หรือกินน้อยมาก , อาเจียน ท้องร่วงมาก มีภาวะขาดน้ำ เช่น
ผิวแห้ง ริมฝีปากแห้ง ตาโหล ปัสสาวะน้อย , ปลายมือปลายเท้ามีสีม่วงคล้ำ
ถ้าอาการป่วยไม่รุนแรง คือ
ไข้ไม่สูง ไม่อ่อนเพลียมาก พอรับประทานอาหารได้
และนอนหลับพักผ่อนได้
ควรดูแลรักษาตนเองที่บ้าน คือ รับประทานยาลดไข้
เช่น พาราเซทามอล (ห้ามใช้ยาแอสไพริน) และยารักษาตามอาการ
เช่น ยาละลายเสมหะ ยาลดน้ำมูก ตามคำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร หากติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน
ต้องรับประทานทานยาปฏิชีวนะให้หมดตามที่แพทย์สั่ง เช็ดตัวลดไข้ด้วยน้ำสะอาดอุ่นเล็กน้อยเป็นระยะ เช็ดแขนขาย้อนเข้าหาลำตัว เช็ดบริเวณหน้าผาก ซอกรักแร้
ขาหนีบ ข้อพับแขนขา และใช้ผ้าห่มปิดหน้าอกไว้ เพื่อไม่ให้หนาวเย็นจนเสี่ยงเกิดปอดบวม หากผู้ป่วยมีอาการหนาวสั่น
ต้องหยุดเช็ดตัวและห่มผ้าให้อบอุ่นทันที ดื่มน้ำสะอาดและน้ำผลไม้มาก
ๆ งดดื่มน้ำเย็นจัด รับประทานอาหารอ่อน ๆ รสไม่จัด
เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม ไข่ ผัก และผลไม้ให้พอเพียงทำจิตใจให้สบาย นอนพักผ่อนให้เพียงพอ
ในห้องที่อากาศไม่เย็นเกินไป และอากาศถ่ายเทสะดวก อาการจะค่อย ๆ ทุเลา และหายป่วยภายใน
5 ถึง 7 วัน ห้ามออกกำลังกายหรือทำงานหนัก
เพราะอาการอาจทรุดลงได้
บทสรุปเชิงนโยบาย
หน่วยงานภาครัฐและเอกชนในเขตเมือง ควรเร่งประชาสัมพันธ์
แจ้งกระตุ้นเตือนในทุกช่องทางการสื่อสาร ให้ประชาชนมีพฤติกรรมสุขอนามัยที่ดี โดยการออกกำลังกาย
การรับประทานเนื้อ ไข่ นม ผัก ผลไม้ เช่น ฝรั่ง ซึ่งอุดมด้วยวิตามินซี การพักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ และการใช้ช้อนกลาง และ 5 พฤติกรรมป้องกันไข้หวัดใหญ่ ที่แนะนำ คือ
- ปิด..ปิดปากจมูกเมื่อป่วย ไอจาม ใช้กระดาษทิชชู
สวมหน้ากากอนามัย หรือไอใส่ต้นแขนตนเอง
- ล้าง..ล้างมือบ่อย ๆ ก่อนรับประทานอาหาร หลังไอจาม สั่งน้ำมูก
ดูแลผู้ป่วย ขับถ่าย จับต้องสัตว์ และล้างเช็ดทำความสะอาดสิ่งของ
พื้นผิว ที่มีคนสัมผัสมาก
- เลี่ยง..เลี่ยงการอยู่ใกล้ผู้มีอาการป่วย มีไข้ ไอ จาม
เลี่ยงสถานที่คนมาอยู่รวมกันจำนวนมาก (โดยเฉพาะช่วงที่มีโรคระบาดมาก)
- หยุด..หยุดงาน หยุดเรียน หยุดกิจกรรมกับผู้อื่น เมื่อป่วย เพื่อให้หายป่วยเร็ว
และไม่แพร่เชื้อให้คนอื่น
- ฉีด..ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเสี่ยงป่วยรุนแรง
ตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข
" ล้างมือ ปิดปาก จมูกเมื่อไอ จาม ฉีดวัคซีนเร็วไว ป้องกันไข้หวัดใหญ่ในเขตเมืองได้ “
ผู้เรียบเรียง : เภสัชกรเชิดเกียรติ แกล้วกสิกิจ
ฉบับสมบูรณ์
ฉบับสมบูรณ์
ในแต่ละปีกระทรวงสาธารณสุข
รายงานว่าประเทศไทย มีผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ 7-9 แสนราย ในจำนวนนี้ มีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ปอดบวม ต้องรับไว้โรงพยาบาลเกือบ 76,000 ราย พบรายงาน ผู้ที่เสี่ยงป่วยรุนแรง
ได้แก่ หญิงมีครรภ์ เสี่ยงป่วยรุนแรงกว่าคนทั่วไป 4 เท่า ผู้มีโรคเรื้อรัง เช่น โรคปอด
หอบหืด หัวใจ ไต เบาหวาน โรคเลือด มะเร็ง เอดส์ ฯลฯ ผู้พิการ ทางสมอง คนอ้วนที่มีน้ำหนักมากกว่า
100 กิโลกรัม เด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป
สถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่
(ข้อมูล
ณ วันที่ 1
มกราคม -31 ตุลาคม 2560)
·
ระดับประเทศ
ข้อมูลจากระบบรายงานเฝ้าระวังโรค (รง.506) มีผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่
สะสมรวม 171,930 ราย อัตราป่วย 262.78 ต่อประชากรแสนคน โดยเพิ่มขึ้น
1.02 เท่า เมื่อเทียบกับ ปี พ.ศ.2559 ณ
ช่วงเวลาเดียวกัน ผู้ป่วยเสียชีวิต 49 ราย
อัตราป่วยตายเท่ากับ ร้อยละ 0.03 (ที่มา: สํานักระบาดวิทยา, 31 ตุลาคม 2560)
·
ระดับเขตสุขภาพที่ 2
มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ สะสมรวม 8,295
ราย อัตราป่วย 237.1 ต่อประชากรแสนคน จังหวัดที่มีอัตราป่วยสูงสุด ในเขตสุขภาพที่ 2 ได้แก่ อุตรดิตถ์ อัตราป่วย 435.79 ต่อประชากร แสนคน (2,005 ราย)
รองลงมา ได้แก่ พิษณุโลก อัตราป่วย 423.02 ต่อแสนประชากร (3,643
ราย) สุโขทัย อัตราป่วย 183.7 ต่อแสนประชากร (1,106 ราย) จังหวัดตาก อัตราป่วย 166.5 ต่อแสนประชากร (964 ราย) จังหวัดเพชรบูรณ์ อัตราป่วย 57.9
ต่อแสนประชากร (577 ราย) (ที่มา: สํานักระบาดวิทยา,
31 ตุลาคม 2560)
·
เขตเมือง
มีรายงานพบผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ สะสมรวม 1,215 ราย
อัตราป่วย 421.7 ต่อประชากรแสนคน
พบในเพศหญิงมากกว่า เพศชาย
อัตราส่วนเพศชายต่อเพศหญิง 1:1.14 และพบจำนวนผู้ป่วย โรคไข้หวัดใหญ่เพิ่มขึ้นสูงกว่า ค่ามัธยฐานย้อนหลัง
5 ปี แต่แนวโน้มผู้ป่วยเริ่มลดลงตั้งแต่เดือนกันยายน
2560
เขตเทศบาลเมืองที่มีอัตราป่วยสูงสุดในพื้นที่เขตสุขภาพที่
2 คือ เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ อัตราป่วย 1,234.3 ต่อประชากรแสนคน (420 ราย)
รองลงมา คือ เทศบาลนครพิษณุโลก อัตราป่วย 549.8 ต่อประชากรแสนคน (363 ราย)
และเทศบาลเมืองอรัญญิก อัตราป่วย 522.7 ต่อประชากรแสนคน (156
ราย)
เมื่อเปรียบเทียบอัตราป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ในพื้นที่เขตเมืองกับอำเภอที่ตั้ง
พบว่า เขตเมืองทุกแห่งมีอัตราป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่ สูงกว่านอกเขตเมือง และเขตเมืองที่มีอัตราป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่ ในเขตเมืองสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับอำเภอที่ตั้ง
ได้แก่ เขตเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ (3.52 เท่า) รองลงมา คือ
เทศบาลเมืองหล่มสัก (3.22 เท่า) และเทศบาลเมืองตาก (2.53
เท่า)
การดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไข้หวัดใหญ่ที่ผ่านมา
1.
มีการเฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และวิเคราะห์ความเสี่ยงการเกิดโรคระบาด แต่ยังมีการระบาดในกลุ่มที่มีความเสี่ยง
และ พื้นที่ที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างแออัด เช่น เรือนจำ โรงเรียน
2. สาธารณสุขเตรียมความพร้อมทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วในการออกสอบสวนโรคไข้หวัดใหญ่
และควบคุมโรคเบื้องต้น อย่างไร ก็ตาม พบว่ามีการแจ้งข่าวข้อมูลผู้ป่วยช้า
โดยเฉพาะในเขตเมือง เนื่องจากผู้ป่วยมักไปรักษาที่ รพ.เอกชน หรือคลินิก
3. ประมาณร้อยละ 50 ของผู้ป่วยในเขตเมือง
เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี แสดงให้เห็นถึงกิจกรรมที่ประชาสัมพันธ์
มาตรการป้องกันโรค พื้นฐานด้านสุขอนามัย (เช่น การล้างมือ การใส่หน้ากากอนามัย เมื่อป่วยให้หยุดงาน หยุดเรียน) อาจยังไม่ทั่วถึง
ครบถ้วน หรือครอบคลุม
4. มีการเตรียมพร้อมและสนับสนุนเวชภัณฑ์ที่จำเป็น เช่น
ยาต้านไวรัส หน้ากากอนามัยอย่างเพียงพอ ดังจะเห็นอัตราป่วยตายอยู่ในระดับต่ำ
5. มีการสื่อสารความเสี่ยง ให้กับประชาชนตามช่องทางสื่อสารต่างๆ
ให้ทราบสถานการณ์และปฏิบัติตามคำแนะนำต่างๆ
บทสรุปเชิงนโยบาย
1. สำนักงานเทศบาล ควรมอบนโยบาย กำกับ ติดตาม
และสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวังโรคในกลุ่มเสี่ยง เช่น ในโรงเรียน ศูนย์เด็กเล็ก ในพื้นที่รับผิดชอบให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น
2. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดควรให้ข้อมูลและความร่วมมือ กับ สำนักงานเทศบาลในการให้ความรู้ แก่
เจ้าบ้าน คลินิก สถานประกอบการ หรือสถานพยาบาล ให้แจ้งข้อมูลผู้ป่วยแก่พนักงานเจ้าหน้าที่
ตาม พรบ.โรคติดต่อ ปี 2558
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น