ในขณะนี้ประเทศไทยกำลังเข้าสู่ฤดูฝน
สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงและมักมีฝนตกหนักติดต่อกันเป็นช่วง
ๆ อาจทำให้เกิดภาวะน้ำขังหรือถึงกับท่วมฉับพลันได้ตามจังหวัดต่างๆ จากสภาพดินฟ้าอากาศเช่นนี้
หากประชาชนดูแลรักษาอนามัยไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะเด็ก ผู้สูงอายุ และผู้อ่อนแอ
อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดการเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ
ซึ่งสามารถแพร่ระบาดได้ง่ายและรวดเร็ว
ผลกระทบ
โรคที่จะเกิดในฤดูฝน สามารถแบ่งได้เป็น 5 กลุ่มโรค
ดังนี้
1)
โรคที่เกิดจากแมลงพาหะ เช่น
โรคไข้เลือดออก โรคมาลาเรีย โรคไข้สมองอักเสบ เจ อี
2)
โรคอาหารเป็นพิษจากเห็ดพิษ
ที่ขึ้นเองในป่า สวน ไร่ หรือเห็ดที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ หรือพืชที่มีพิษต่างๆ เช่น
ผักหวานพิษ
ที่มักมีรายงานผู้ป่วยและเสียชีวิตเป็นประจำทุกปีช่วงหน้าฝน
3)
โรคติดต่อทางเดินหายใจและการสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย
ที่พบบ่อย เช่น โรคหวัดหวัดใหญ่
โรคคออักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบหรือปอดบวม โรคมือ เท้า ปาก ในเด็ก
4)
โรคที่เกิดจากการสัมผัสเชื้อจากสิ่งแวดล้อมและสัตว์พาหะ
เช่น โรคเลปโตสไปโรซิส
หรือโรคไข้ฉี่หนู ที่เชื้อปะปนอยู่ในน้ำและสิ่งแวดล้อม ดิน โคลน แอ่งน้ำ
ร่องน้ำ น้ำตก ที่ชื่นแฉะมีน้ำท่วมขัง
5)
โรคหรือภัยที่มักเกิดร่วมกับภาวะอุทกภัย
เช่น
โรคทางอาหารโดยเฉพาะในช่วงที่มีน้ำท่วม ได้แก่
โรคท้องเดินหรือโรคอุจาระร่วง โรคบิด ไทฟอยด์ อาหารเป็นพิษ ตับอักเสบ เป็นต้น โรคตาแดง ที่ติดต่อโดยการสัมผัสใกล้ชิด
ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกัน หรือจากการใช้น้ำที่ไม่สะอาด โรคน้ำกัดเท้า เกิดจากเชื้อรา
ที่ต้องลุยอยู่ในน้ำสกปรกนาน ๆ
อันตรายจากสัตว์มีพิษ เช่น งู ตะขาบ แมงป่อง
ซึ่งหนีมาหลบอาศัยในบริเวณบ้านช่วงที่มีน้ำท่วม
อันตรายจากการจมน้ำ และไฟฟ้าดูดขณะร่างกายเปียกน้ำ
คำแนะนำประชาชน และบทสรุปเพื่ออนาคต
วิธีการป้องกันโรคดังกล่าวข้างต้น ดังนี้
1)
อย่าให้ถูกยุงกัด โดยการ เก็บ ฝัง
ทำลาย หรือปิดให้มิดชิด พร้อมกันทุกบ้าน ทุก 7 วัน ตัดจงจรการขยายพันธุ์ยุง
2)
ถ้าเดินทางไปพักค้างแรมในป่า
ต้องป้องกันตนเองให้ถูกยุงกัด เมื่อมีอาการไข้ภายหลังจากไปป่า
บอกประวัติให้สถานพยาบาลทราบ เพื่อตรวจเลือดหาเชื้อมาลาเรียโดยเร็วที่สุด
3)
รักษาร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ เช่น
การออกกำลังกายพอเหมาะ เพื่อให้ร่างกายมีความต้านทานโรค
4)
หลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีโรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ
หากมีไข้ไม่สูง หรือรู้สึกไม่สบาย ควรเช็คตัวลดไข้เป็นระยะ รับประทานยาลดไข้
และหากภายใน 2
วัน ไข้ไม่ลดหรืออาหารทรุดลงให้รีบพาผู้ป่วยไปสถานพยาบาลใกล้บ้าน
5)
รับการฉีดวัคซีนตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
หรือตามประกาศของทางราชการ
6) สถานรับเลี้ยงเด็กและโรงเรียนอนุบาล
หมั่นดูแลสุขอนามัยของสถานที่ และอุปกรณ์ให้สะอาดอยู่เสมอ
7)
รับประทานอาหารที่สะอาดปรุงสุกใหม่ ๆ
ไม่มีแมลงวันตอม และดื่มน้ำที่สะอาดทุกครั้ง
เช่น น้ำที่ต้มสุกแล้ว
หรือน้ำบรรจุขวดที่มีเครื่องหมายรับรองคุณภาพ
และไม่ควรรับประทานน้ำแข็งที่ใช้แช่อาหารอื่น
8)
ล้างมือฟอกสบู่ให้สะอาดก่อนรับประทานอาหารทุกครั้ง
9)
อย่าใช้มือ แขน หรือ
ผ้าที่สกปรกขยี้ตา หรือเช็ดตา และรีบล้างตาด้วยน้ำสะอาดทุกครั้งที่ถูกน้ำสกปรก
12)
หากเจ็บป่วย หรือ มีบาดแผล
ให้รีบไปตรวจที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน ตั้งแต่เริ่ม
ก่อนที่อาการจะลุกลามและเกิดโรคแทรกซ้อนขึ้น
13)
ระมัดระวังไม่ให้เกิดอุบัติเหตุจากการถูกของมีคมและสัตว์มีพิษกัดต่อย
โดยการจัดและดูและบ้านเรือนให้สะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อย
ไม่ให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์มีพิษหรือเป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงพาหะได้
“กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือสะอาด
สุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
ป้องกันโรคจากฤดูฝนได้”
ผู้เรียบเรียง...เภสัชกรเชิดเกียรติ แกล้วกสิกิจ